วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

บ้านดอนตาเพชร

แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี

      แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนวัดสาลวนาราม ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม และที่ราบเชิงเขาบางส่วน มีคลองชลประทางไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำการเกษตร
     แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร เป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยเหล็กที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่ภาคกลางซีกตะวันตกของไทย ซึ่งเป็นส่วนขอบของที่ราบภาคกลางด้านทิศตะวันตก อยู่ ม.7 ภายในโรงเรียนวัดสาลวนาราม ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี 
 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา http://dontaphet.go.th/public/landmark/data/detail/landmark_id/6/menu/119


       การขุดค้นพบวัตถุโบราณซึ่งมีการขุดพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2518 เมื่อทางโรงเรียนวัดสาลวนารามให้นักเรียนช่วยกันขุดหลุมเพื่อปักเสารั้วโรงเรียนทางด้านทิศตะวันตก และได้พบหลักฐานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากและมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 – 8 (ราว 2,000 – 1,700 ปีมาแล้ว) 

       จากการดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีทำให้พบหลักฐานโบราณวัตถุได้มากถึง 168 รายการ สามารถจำแนกเป็นประเภท ดังนี้ เครื่องมือโลหะเหล็ก จำนวน 113 รายการ และจำแนกเป็นเครื่องมือตามรูปทรงและประโยชน์การใช้งาน ดังนี้ รูปทรงคล้ายมีด รูปทรงคล้ายสิ่ว รูปทรงคล้ายแหลน รูปทรงแบบหัวลูกศร รูปทรงแบบมีดขอ และเครื่องมือโลหะที่ไม่สามารถทราบรูปทรงที่ชัดเจน 
       
        โบราณวัตถุประเภทเครื่องสำริด สามารถจำแนกได้ ดังนี้ เครื่องใช้สำริดทรงขัน ทรงถาด ทรงกระบอก กระบวยสำริด เครื่องประดับสำริด กำไล แหวน ต่างหู ลูกกระพรวน ปิ่นปักผม โบราณวัตถุประเภทหิน ส่วนใหญ่จะเป็นลุกปัดที่ทำจากหินคาร์เนเลี่ยน หินอาเกด  หินควอทไซต์  โบราณวัตถุประเภทแก้ว ได้แก่ ลูกปัดแก้ว ซึ่งประกอบไปด้วยสีแดง    สีฟ้า สีเขียว และสีน้ำเงิน กำไลแก้ว จะมีรูปทรงวงโค้ง รูปเสี้ยววงกลม รูปสี่เหลี่ยม ปละรูปห้าเหลี่ยม โบราณวัตถุปะเภทดินเผา ประกอบด้วย ภาชนะดินเผา แวดินเผา (ใช้ปั่นด้าย)



  ที่มา http://www.dasta.or.th/dastaarea7/en/515/itemlist/category/115-notice
        แหล่งโบราณคดีแห่งนี้สามารถกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 3 - 8 หรือประมาณ 2,300 - 1,700 ปีมาแล้ว เป็นแหล่งที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนถาวร มีการติดต่อกับชุมชนอื่นจากภายนอก ทั้งภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นในพื้นที่กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และในพื้นที่ห่างไกล เช่น อินเดีย เวียดนาม รวมทั้งมีการรับเทคโนโลยีเกี่ยวกับการหล่อเครื่องประดับและเครื่องใช้ที่ทำจากเหล็กและสำริด รวมทั้งการทำเครื่องประดับจากหินและแก้ว

โบราณวัตถุสำคัญที่ได้จากการขุดค้นและสำรวจ
       1.โบราณวัตถุสำริด  เช่น รูปไก่ลอยตัว ลักษณะเป็นรูปไก่ขันอยู่บนคอน ปากคาบสัตว์ที่มีขาคล้ายแมงมุมหรือปู, รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด มีลักษณะเป็นทรงกรวย ตอนบนมีรู ซึ่งคงใช้สำหรับเสียบกับรูปไก่, รูปหงส์, รูปนกยูง, ลูกกระพรวน, กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง
        ภาชนะสำริดที่พบที่บ้านดอนตาเพชรแสดงถึงเทคโนโลยีการหล่อโลหะขั้นสูง คือการหล่อแบบขับขี้ผึ้ง (Lost wax) เนื่องจากภาชนะที่พบมีเนื้อบางและมีการแกะลายที่สวยงาม จากการวิเคราะห์เนื้อโลหะสำริดทำให้ทราบว่ามีส่วนผสมของแร่ดีบุกสูง ทำให้สำริดที่บ้านดอนตาเพชรมีความวาวและเปราะแตกง่าย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ้านดอนตาเพชร
   ที่มา https://www.slideshare.net/pccchon/a2-thaihistory
       2.โบราณวัตถุเหล็ก ได้แก่ เครื่องมือเหล็กแบบต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือช่างแบบมีบ้อง เครื่องมือช่างแบบมีช่องเข้าด้าม เครื่องมือช่างแบบมีกั่น ใบหอกมีบ้อง ใบหอกมีกั่น หัวลูกศร หัวฉมวก ห่วงเหล็กรูปคล้ายกำไล มีด ตะปู เคียว (มีดขอ) เบ็ด เครื่องมือเหล็กรูปคล้ายใบหอกแต่มีรูเจาะตรงกลาง เหล็กเส้นยาว
        จากการวิเคราะห์โครงสร้างในเนื้อโลหะเหล็กจากบ้านดอนตาเพชรพบว่าโครงสร้างทางภายภาพของเหล็กเป็นผลึกหยาบ การเรียงตัวผลึกเป็นแบบแฟร์ไรท์ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ ทำให้เนื้อเหล็กมีความแข็งน้อย เป็นเหล็กอ่อน (Wrought iron) เนื้อเหล็กแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการถลุงยังทำได้ไม่ดีนัก น่าจะมาจากกระบวนการตรง (Bloomery Process) ยังคงมีแร่ที่ไม่ต้องการ (slag) คือ เหล็กออกไซด์และเหล็กซัลไฟด์ หลงเหลืออยู่ในเนื้อเหล็ก ซึ่งจะทำให้เหล็กสึกกร่อนง่าย แต่มีประโยชน์คือเพิ่มความแข็งให้กับเหล็ก


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ทีมา http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai
        หลักฐานเครื่องมือเหล็กชี้ให้เห็นถึงวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ของแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร เช่น เครื่องมือช่างที่ใช้ในงานช่าง ตัดไม้ และขุดดิน เครื่องมือที่ใช้ในการล่าสัตว์ ได้แก่ ใบหอก และหัวลูกศร ซึ่งวิถีชีวิตน่าจะประกอบไปด้วยการเพาะปลูกและการล่าสัตว์-หาของป่า นอกจากนี้เครื่องมือเหล็กยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในชุมชน กล่าวคือ เครื่องมือเหล็กจากทั้งสองแหล่งได้มาจากหลุมศพ หรือเป็นวัตถุอุทิศให้กับผู้ตาย แสดงถึงความเชื่อหลังความตายของคนในชุมชน มีการจงใจหักหรืองอเครื่องมือเหล็กที่อุทิศให้กับผู้ตายก่อนฝัง ซึ่งอาจมาจากความเชื่อว่าของที่ฝังให้ผู้ตายต้องทำให้สิ่งของเหล่านั้นตาย (เสียหาย) ไปด้วย
       3.โบราณวัตถุที่ทำด้วยหิน เช่น เครื่องมือหินหรือเครื่องมือขูดขนาดเล็ก (shoulder adze) ทำจากหินควอทไซท์, เครื่องมือหินขัด, ลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอาเกต รูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก และทรงถังเบียร์ ลูกปัดหินชิ้นพิเศษคือลูกปัดหินคาร์เนเลียนรูปสิงโตในท่าทางกำลังกระโจน ด้านบนเจาะรู ความสูง 3.1 เซนติเมตร ยาว 5.7 เซนติเมตร, ลูกปัดหินกัดสี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ้านดอนตาเพชร
ที่มา http://missvilitt.blogspot.com/2011/11/blog-post_15.html

       4.โบราณวัตถุประเภทแก้ว เช่น กำไลแก้วสีม่วงและเขียว ลูกปัดแก้วสีต่างๆ เช่น สีเขียวอ่อน ฟ้า น้ำเงิน น้ำตาลแดง และใส รูปทรงที่เด่นชัดคือ รูปเหลี่ยมยาว รูปหกเหลี่ยมยาว รูปทรงสิบสองเหลี่ยม รูปพีรามิดยอดตัดประกบคู่ รูปวงแหวน รูปวงกลมขั้วแบน ทรงคล้ายถังเบียร์ และรูปกลม


       5.ภาชนะดินเผา เช่น ภาชนะดินเผามีก้นกลมปลายบาน บางใบทำลวดลายขูดขีด ลายประทับ และลายเชือกทาบ บางใบทาน้ำดินสีแดง, แก้วดินเผา รูปทรงกลม และมีรูตรงกลาง เป็นต้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ้านดอนตาเพชร
 ที่มา http://sac.or.th/databases/archaeology/archaeology
6.กระดูกมนุษย์ ส่วนใหญ่พบเพียงชิ้นส่วน เช่น กระดูกขา กระดูกนิ้ว กระดูกแขน กะโหลกศีรษะ และฟัน เป็นต้น กระดูกบางชิ้นถูกบรรจุอยู่ในภาชนะสำริด และบางชิ้นพบร่วมกับสิ่งของที่แตกชำรุด ส่วนฟันพบทั้งฟันของวัยเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งปรากฏร่องรอยการสึกของฟันกราม 
การเดินทาง
       จากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 324 (ถนนอู่ทอง) มุ่งหน้าอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามถนนประมาณ 31 กิโลเมตร (ผ่านตัวอำเภอพนมทวนก่อน) พบสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายสู่ตำบลดอนตาเพชร ไปตามถนนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบโรงเรียนวัดสาลวนารามอยู่ทางซ้ายมือ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรและพิพิธภัณฑ์บ้านดอนตาเพชรอยู่ภายในโรงเรียน

       ผู้ต้องการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องติดต่อล่วงหน้าไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลดอนตาเพชร ที่เบอร์ 034-680-448, 034-680-449 โดยไม่เสียค่าเข้าชม

แผนที่การเดินทาง


ที่มา
สุรเดช ก้อนทอง. (2519). การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องมือเหล็กสมัยก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี กับแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
http://rlocal.kru.ac.th/index.php/th/2013-12-09-04-37-28/571-2017-02-28-06-26-38
http://sac.or.th/databases/archaeology/archaeology/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3
http://www.museumthailand.com/Don_tha_Phet_Museum
http://www.bansansuk.com/krungsri/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3.html
http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai















บ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา



        การตั้งชุมชนบ้านปราสาทในอดีตเริ่มเมื่อ ประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว โดยสันนิษฐานว่ากลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณที่บริเวณบ้านปราสาทนี้อพยพมาจากบริเวณแอ่งสกลนคร (อีสานเหนือ) ซึ่งแอ่งสกลนครเป็นแอ่งที่ตั้งของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในระยะแรกของภาคอีสาน มีอายุ 5,600 - 3,000 ปี    สาเหตุที่อพยพ เนื่องจากพื้นที่ในแอ่งสกลนครเริ่มมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นมากขึ้น ทำให้ต้องอพยพลงมาทางตอนล่าง คือแอ่งโคราช เพื่อหาที่ทำกินใหม่ 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_image.php?id=923
        จากการศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าชาวบ้านปราสาทในอดีตเลือกตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ เพราะเห็นว่าพื้นดินบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ และอยู่ใกล่แหล่งน้ำ (ลำธารปราสาทในปัจจุบัน) จึงเหมาะที่จะอยู่อาศัยและทำการเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงชีพ แต่จากการสำรวจและศึกษาทางโบราณคดี พบว่าพื้นที่บ้านปราสาทในอดีตต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมในหน้าน้ำหลาก และประสบกับปัญหาน้ำน้อยในหน้าแล้ง ชาวบ้านจึงต้องแก้ปัญกาโดยการร่วมขุดคูน้ำเชื่อมต่อกับลำธารปราสาท คููน้ำโบราณแห่งนี้อยู่ทางชุมชน ปัจจุบันได้กลายสภาพเป็นที่นาของชาวบ้านไปแล้ว
        บ้านปราสาทเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 3,000 ปีเป็นที่รู้จักเพราะ นักค้าของเก่าลักลอบนำโบราณวัตถุในบริเวณหมู่บ้านไปขาย กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการจับกุมพร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาแหล่ง โบราณคดีนี้ในปี 2526 พบว่าแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น มีลำธารปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ มีมนุษย์มาตั้งชุมชนครั้งแรกราว 3,000 ปีมาแล้ว รู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ทำภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันและมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วย 
พิพิธภัณฑ์บ้านปราสาทและแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_image.php?id=923
       ต่อมาในราว 2,200 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยผลิตภาชนะดินเผาแบบพิมายดำขึ้นแทน มีการนำเหล็ก สำริด หินสีต่าง ๆ เช่น หินคาร์นีเลียน หินอเกต มาทำเครื่องใช้เครื่องประดับ จนราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเข้ามา แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ชุมชนนี้จะสิ้นสุดไป
      บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว หลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชม มีทั้งหมด 3 แห่ง 
หลุมขุดค้นที่ 1
        มีโครงกระดูกฝังอยู่ในชั้นดินแต่ละสมัย แต่ละยุคมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป ยุค 3,000 ปี อยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก 5.5 เมตร โครงกระดูกจะหันหัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยุค 2,500 ปี หันหัวไปทางทิศตะวันออก ยุค 2,000 ปีหันหัวไปทางทิศใต้ แต่คติในการฝังจะคล้ายกันคือจะนำเครื่องประดับ เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริดและภาชนะของผู้ตายฝังร่วมไปด้วยกับผู้ตาย ในช่วงสามระยะแรกนี้เป็นภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง แบบลายเชือกทาบ ลักษณะหลักของภาชนะเป็นแบบคอแคบปากบาน แต่บางใบมีทรงสูงเหมือนคนโท บางชิ้นมีลักษณะเป็นทรงกลมสั้น ต่อมาในยุค 1,500 ปี นั้นลักษณะภาชนะจะเปลี่ยนเป็นแบบพิมายดำ คือ มีสีดำ ผิวขัดมัน เนื้อหยาบบาง 
ที่มา http://pr.prd.go.th/nakhonratchasima/ewt_news.php?nid=176&filename=index
หลุมขุดค้นที่ 2
        ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่ 13-16 เรียกกันว่า "กู่ธารปราสาท" และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยเดียวกัน ศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้งครรภ์ และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท
หลุมขุดค้นที่ 3
        พบโครงกระดูกในชั้นดินที่ 5.5 เมตร เป็นผู้หญิงทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่ากระดูกทุกโครงในหลุมนี้ไม่มีศีรษะ และภาชนะนั้นถูกทุบให้แตกก่อนที่จะนำลงไปฝังด้วยกัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะไปแห่ประจาน และได้พบส่วนกะโหลกอยู่รวมกันในอีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างจากจุดเดิมเพียง 500 เมตร ชาวบ้านปราสาทจะร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันที่ 21 เมษายน ของทุกปี
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา https://www.touronthai.com/article/661
ลักษณะทั่วไป
1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ และมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดของเขตภาคอีสานตอนล่าง มีการจัดแสดงในรูปของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ประกอบด้วยหลุมขุดค้นจำนวน 3 หลุม โครงกระดูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ราว 59 โครง รวมทั้งโบราณ วัตถุอื่น ๆ อีกจำนวนมาก 
2. เป็นแหล่งศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ในอดีต ของดินแดนภาคอีสานตอนล่าง 
3. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำให้เศรษฐกิจตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น
หลักฐานที่พบ
1. โครงกระดูกมนุษย์อยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 1.50 – 5 เมตร แสดงถึงการอยู่อาศัยทับซ้อนกันยาวนาน
2. ภาชนะดินเผา หม้อปากแตร และหม้อแบบพิมายดำ
3. เครื่องประดับและเครื่องมือสำริด • เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ไปตามถนนมิตรภาพ นครราชสีมา-ขอนแก่น แยกเข้าซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 25
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ้านปราสาท
http://woodychannel.com/bann-prasart-ancient-wisdom.html
สถานที่ตั้ง
        แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงกิโลเมตรที่ 44 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถประจำทางจากกรุงเทพฯหรือนครราชสีมา ให้นั่งรถสายที่จะไป ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย หรือ กาฬสินธุ์ ลงรถที่ กม.44 แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างจากปากทางเข้าหมู่บ้าน 
 ทุกวัน  เวลา 08.30 - 16.30
แผนที่เดินทาง



ที่มา
       สุชาดา รัตนภูมิพงษ์. (2546). วัฒนธรรมชุมชนในฐานะที่เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว ศึกษากรณีแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=923&CID=22027
http://www.nakhonkorat.com/main/th/2009-04-02-05-48-49/2009-04-10-09-39-20/333-2009-04-21-09-39-48.html
http://pr.prd.go.th/nakhonratchasima/ewt_news.php?nid=176&filename=index
https://thai.tourismthailand.org/
http://woodychannel.com/bann-prasart-ancient-wisdom.html
http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_image.php?id=923




วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร





          พิพิธภัณฑ์ หรือ พิพิธภัณฑสถาน เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มี ความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและความเพลิดเพลินใจ ในปัจจุบันมี “พิพิธภัณฑ์” ทั่วประเทศจำนวนกว่า 1,373 แห่ง ซึ่งต่างมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ประชาชน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครนับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขี้นเมื่อ พ.ศ.2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร PDF
ที่มา http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000105024

       ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา

        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 
       ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว  ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่ นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"
     ต่อมาในปี พ.ศ.2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับ พระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก  คัมภีร์  ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2477


ภาพจากพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

       ในปี พ.ศ. 2510 ได้สร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 2 หลัง คือ “อาคารมหาสุรสิงหนาท” ปัจจุบัน จัดแสดงความเป็นมา ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคประวัติศาสตร์ตั้งแต่อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ตลอดจนอิทธิพลอารยธรรมอินเดียสมัยก่อนพุทธศักราช 1800 และ “อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์” ปัจจุบัน จัดแสดงศิลปวัตถุจากอาณาจักรล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ตลอดจนจัดแสดงงานประณีตศิลป์ของกรุงรัตนโกสินทร์


การจัดแสดง

      ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน  (ห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” อาคารพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน) 
        พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน เป็นท้องพระโรงที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตั้งแต่ เมื่อแรกสร้างวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2325 เพื่อใช้สำหรับเสด็จออกขุนนาง และบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ เดิมเป็นอาคารโถงไม่มีผนัง  สร้างด้วยเครื่องไม้  มีขนาดเล็กกว่าปัจจุบัน  ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3  สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพโปรดเกล้าฯ  ให้รื้อพระที่นั่งองค์เดิมแล้วสร้างใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่กว่าเดิม ส่วนหลังคา ยังเป็นเครื่องไม้เลียนแบบมาจากพระที่นั่งองค์เดิม คือมีลักษณะลาดต่ำและมีพาไลรอบเพื่อป้องกันแดดและฝน เนื่องจาก เป็นอาคารโถง
        เป็นห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์และอารยธรรมที่รุ่งเรืองของไทย  ผ่านศิลปโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมทุกสมัยที่พบในประเทศไทย ตามลำดับเวลาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี (เขมรในประเทศไทย)  สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
ที่มา https://th.wikipedia.org
       ประณีตศิลป์สืบสมัย (ส่วนจัดแสดงประณีตศิลป์ในหมู่พระวิมาน)  ชมงานประณีตศิลป์ชิ้นเอก ที่จัดแสดงภายในหมู่พระวิมานพระราชฐานชั้นใน อันเคยเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหลายพระองค์ และงานประณีตศิลป์ จัดแสดงเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ เครื่องคชาธาร  เครื่องสูง  เครื่องนาฏดุริยางค์  เครื่องถ้วย เครื่องโลหะ เครื่องราชยานคานหาม เครื่องไม้แกะสลัก ผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา  เครื่องมุก  และเครื่องอาวุธ
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201201/18/4981986e9.jpg

      ประวัติศาสตร์ศิลป์ไทยสืบสาน (ส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี อาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์) ศึกษารูปแบบและวิวัฒนาการของศิลปะโบราณคดีในประเทศไทย ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ศรีวิชัย เทวรูปโบราณ ลพบุรี (เขมรในปะเทศไทย) สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
ที่มา https://pantip.com/topic/35071152

      โบราณสถานวังหน้า (โบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ ภายในพิพิธภัณฑสถาน) ชมสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  อาคารโบราณสถานวังหน้า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่ครั้งโบราณกาลและจิตรกรรมฝาผนังสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง  พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน  พระตำหนักแดง  ศาลาสำราญมุขมาตย์ ศาลาลงสรง  พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  เก๋งนุกิจราชบริหาร อาคารสถาปัตยกรรมจีนหลังเดียวที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในวังหน้า  อาคารโรงราชรถ และหอแก้วศาลพระภูมิ

พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์
ที่มา https://readthecloud.co/walk-7/
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์
ที่มา https://readthecloud.co/walk-7/

สถานที่ตั้ง

      ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ตั้งอยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ  ตรงข้ามสนามหลวง 

      เวลาทำการ 09.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ติดต่อโทร 02-224-1370 

ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์

     คนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท 
     นักเรียน นักศึกษา สูงอายุ พระ สามเณรและนักบวช ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

     โดยรถประจำทางสาย 3, 6, 9, 15, 19, 30, 32, 33, 53, 59, 64, 65, 70, 80, 84, 123, 165,    ปอ.3, ปอ.6, ปอ.7, ปอ.39, ปอ.80, ปอ.91

      โดยรถไฟฟ้าBTS ลงสถานีสะพานตากสิน S6 (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 แล้วใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาจากท่าสาทร Central Pier ไปยังท่าช้าง เลี้ยวซ้ายเดินไปตามถนนมหาราชจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินตามกำแพงของมหาวิทยาลัย เลี้ยวซ้ายจะพบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


แผนที่การเดินทาง


ที่มา
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/bangkoknationalmuseums/index.php/th/
http://www.museumthailand.com/National_Museum_Bangkok_Phranakorn
http://www.glamsbkk.com/?p=512
http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000105024
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000055530
http://www.bts.co.th/customer/th/06-travel-art-03.aspx
https://stanutty113.wordpress.com/2017/02/04/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%9E/



วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

วัดช้างรอบ vs. วัดช้างล้อม


วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร

        เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าแก่อีกเมืองอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปีมาแล้ว มีศักดิเป็นเมืองลูกหลวงและเมืองพญามหานครของอาณาจักรสุโขทัยตามลำดับ ก่อนจะมีชื่อว่ากำแพงเพชร เมืองนี้มีชื่อเดิม 2 ชื่อ คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม ทั้ง 2 ชื่อนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกที่ และศิลาจารึกเขาสุมนกุฎ เมืองสองเมืองนี้ใกล้กันทางฝั่งตะวันตก  ฝั่งขวาริมแม่น้ำปิง  คนละฝั่งกับเมืองปัจจุบัน  
วัดพระบรมธาตุนครชุม
ที่มา http://www.tatcontactcenter.com/en/Blog-detail/291

        สมัยพระยาเลอไทย แห่งกรุงสุโขทัยได้มาบูรณะเมืองชากังราวเมื่อปี 1800 และยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง เช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย ได้โปรดเกล้าให้พระราชโอรสหนึ่งมาครองเมืองนี้ ต่อมาแม่น้ำปิงเปลี่ยนทางเดินเป็นผลให้อยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จขุนพะงั่ว รัชกาลที่ 3 ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้ผลจากสงคราม ทำให้เขตการปกครองของกรุงสุโขทัยได้ถูกแบ่งออกเป็น สองส่วน คือ ดินแดนทางฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง  ดินแดนฝั่งแม่น้ำยม และแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมชากังราว และเมืองนครชุมมาเป็นเมืองเดียวกันแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กำแพงเพชร ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยม และแม่น้ำน่านให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พญาไสลือไทยหรือมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงพิจารณาเห็นว่าการแบ่งขตการปกครองออกเป็น ส่วน ต่างไม่ขึ้นแก่กัน ดังกล่าวเกิดผลเสียมีเรื่องอยู่เสมอ จึงได้รวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกันเมื่อปี พ.ศ.1981 โดยมุมเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิม แล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกแห่งเดียว
วัดช้างรอบ
ที่มาhttp://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/kamphaengphe/
kamphaengphet-002/item/239-kamphaengphe03-002
ประวัติวัดช้างรอบ 
        วัดช้างรอบ ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเนินเขาลูกรังในเขตวัดป่าหรือเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร กลางวัดมีเจดีย์ประธานขนาดใหญ่รูปแบบเจดีย์ช้างล้อมที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ฐานเจดีย์อยู่ในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 31 เมตร สูง 7 เมตร ที่ฐานเป็นรูปช้างปูนปั้นครึ่งตัวหันศีรษะออกจากฐานรอบเจดีย์ จำนวน 68 เชือก ช้างแต่ละตัวทรงเครื่องที่มีเครื่องประดับที่แผงคอ กำไล โคนขาและข้อขา ระหว่างช้างแต่ละตัวมีลายปูนปั้นเป็นรูปต้นไม้และสัตว์ป่าซึ่งหมายถึงป่าหิมพานต์ทั้งสี่ด้านมีบันไดทางขึ้นไปด้านบนฐานเจดีย์ เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปยักษ์และสิงห์ระหว่างทางขึ้นด้านบนฐานเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ทรงระฆังแต่ส่วนบนพังทลายเกือบหมดแล้วทางด้านทิศตะวันออกชองเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ขนาด 7 ห้อง 
        ด้านหน้าวิหารเป็นบ่อน้ำที่เกิดจากจากขุดนำศิลาแลงมาใช้ จากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบประติมากรรมลวดลายต่าง ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปหน้าเทวดา และหน้ามนุษย์ เป็นศิลปะรูปแบบอยุธยาตอนต้น-ตอนกลางผสมกับศิลปะสุโขทัยโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมและจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชรจากรูปแบบศิลปะและหลักฐานที่พบ สันนิษฐานว่าวัดช้างมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ในสมัยอยุธยา

วัดช้างรอบ
ที่มา https://pantip.com/topic/33926242

สถาปัตยกรรมวัดช้างรอบ
        จากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่างๆเป็นดินเผารูปนางรำ  รูปยักษ์  รูปหงส์  รูปหน้าเทวดา  นางฟ้า  กินนร  กินรี และหน้ามนุษย์  ซึ่งเป็นโบราณวัตถุศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น หรือสุโขทัยตอนปลาย นอกจากนี้แล้ว วัดช้างรอบยังมีกำแพงศิลา ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือในช่วงอยุธยาตอนต้น ที่ปัจจุบันยังคงหลงเหลือส่วนฐานล่างประดับช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก ตัวช้างทำลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขา และข้อขา ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงรูปพันธุ์พฤกษา เจดีย์ด้านบนเหลือเฉพาะฐานแปดเหลี่ยม และหน้ากระดานกลม ซึ่งพบหลักฐานว่ามีการประดับลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทะประวัติ ด้านหน้าเจดีย์ประธานที่ฐานวิหารใหญ่ และถัดไปเป็นสระน้ำที่ขุดลงไปในชั้นศิลาแลง 

ช้าง - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งมีขาสองข้างกับหัวโผล่ออกมาข้างนอกตัวช้างมีเครื่องประดับประดาบริเวณขาของช้างทั้งสองมีการประดับลวดลายและบริเวณคอมีการประดับลวดลายเช่นกัน
สิงห์ - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งได้รับอารยธรรมมาจากลังกา สิงห์จะอยู่บริเวณประตูทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน 2 ตัวมีลวดลายประดับแต่สภาพไม่สมบูรณ์เท่าไร
หงส์ - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งมีลวดลายสวยงามอยู่บริเวณผนังของฐานใกล้ทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน นอกจากนี้ยังมีลวดลายอื่นๆอีกเช่นกัน

กินรี - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งมีสภาพไม่สมบูรณ์อยู่บริเวณทางขึ้นไปบนเจดีย์แต่ปัจจุบันก็ยังพบเห็นได้อยู่
เจดีย์  - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งปัจจุบันมีสภาพไม่สมบูรณ์ ภายในดูโล่งสามารถเดินชมรอบเจดีย์ได้ ประตู  วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งมีสภาพสมบูรณ์ สองด้านทางขึ้นมีความสูงและชันมากบนประตูมีระฆังประดับ
ที่มา http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/kamphaengphe
/kamphaengphet-002/item/239-kamphaengphe03-002ผ
การขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร                                                                                                       
1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในวันที่ 8 มีนาคม  พ.ศ.2478                                
2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ  ในวันที่ 3 มกราคม  พ.ศ.2480
3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา  วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2511
      วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 ขึ้นทะเบียนของ UNESCO ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574

วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย
       ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองเกือบกึ่งกลางตัวเมืองศรีสัชนาลัย บริเวณที่ราบด้านเชิงเขาพนมเพลิงด้านทิศใต้ ในแนวเดียวกันกับวัดเจดีย์เจ็ดแถว
        โบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ประธานทรงลังกา มีกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอย ตั้งอยู่บานฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างปูนปั้นเต็มตัว ประดับโดยรอบฐานทั้งด้าน รวม 39 เชือก “ช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 39 เชือก หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ  ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องหมายการตรัสรู้ ไปสู่การหลุดพ้นแห่งจิตและปัญญา ไปสู่ความหลุดพ้นไม่เกิดอีก (อรหันต์) ซึ่งเป็นอุดมคติหรือโมกษธรรมที่เป็นการหลุดพ้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา นั่นคือนิพพาน” 
เจดีย์ประทานทรงลังกา วัดช้างล้อม สุโขทัย
ที่มาhttp://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/sukhothai
/sukhothai02/sukhothai02-002/item/255-sukhothai03-015
         ช้างที่ประดับตรงมุมจะมีขนาดใหญ่ และมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ต้นขา และข้อเท้า ระหว่างรูปช้างจะมีเสาประทีปสลับอยู่ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางอยู่ ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย 20 ซุ้ม ผนังซุ้มมีรูปประติมากรรมรูปต้นโพธิ์อยู่เบื้องหลังพระพุทธรูป บริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตร ซึ่งประดับด้วยรูปพระสาวกปูนปั้นลีลานูนต่ำจำนวน 17 องค์ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ. 1829 พ่อขุนรามคำแห่งให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และเฉลิมฉลอง หลังจากนั้นจึงฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย และก่อพระเจดีย์ทับลงไป โบราณสถานภายในวัดที่ยังมีหลักฐาน คือ วิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน นอกจากนั้นเป็นวิหารขนาดเล็กๆ หลัง และเจดีย์รายอีก องค์
นักวิชาการสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ.1829 พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัยก่อนก่อพระเจดีย์ทับลงไป

         พบศิลาจารึกที่วัดช้างล้อม เขียนเล่าเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พ.ศ.1905 1933 ว่า พนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางผู้จงรักภักดีต่อพระมหาธรรมราชาลิไท มีใจศรัทธาออกบวชตามพระมหาธรรมราชาลิไท และได้อุทิศที่ดินของตนสร้างวิหาร ในปี พ.ศ.1933 สร้างพระพุทธรูป หอพระไตรปิฎก ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุทิศบุญกุศล ถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว และสร้างพระพุทธรูปหินอุทิศบุญกุศลถวายแด่ มหาเทวี พระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาลิไทผู้เคยปกครองเมืองสุโขทัย  เป็นวัดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ภายในวัดได้พบศิลาจารึกวัดช้างล้อม ที่บันทึกถึงพนมไสดำ ขุนนางสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ได้ออกบวช อุทิศที่ดิน เพื่อสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์และพระมเหสี ซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว โดยอุทิศถวายเมื่อปี พ.ศ. 1933
สถาปัตยกรรมวัดช้างล้อม
โบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงลังกาตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีซุ้มประตูทั้ง ทิศ ประตูด้านหน้าและประตูด้านหลังเป็นทางเข้าออกก่อเป็นกำแพงศิลาแลงหนามีการเล่นระดับที่ซุ้มประตูอย่างสวยงาม สำหรับประตูด้านข้างก่อเรียงอิฐศิลาแลงปิดไว้เป็นประตูตัน
เจดีย์ประธานทรงลังกาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันหลายชั้น มีทางเดินเป็นบันไดขึ้นไปยังชั้นบน โดยรอบเจดีย์มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง ด้าน ด้านละ เชือก (ยกเว้นด้านหนึ่งซึ่งเป็นบันไดทางขึ้นมีเพียง เชือก) และที่มุมมีช้างขนาดใหญ่ประดับอีก เชือก รวมเป็น 39 เชือก ช้างเชือกใหญ่ที่อยู่มุมเจดีย์เป็นช้างทรงเครื่องมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ และข้อเท้าสวยงามกว่าช้างที่ฐานสี่เหลี่ยม ระหว่างช้างปูนปั้นที่ฐานนั้นจะมีเสาประทีปศิลาแลงสลับเป็นระยะ ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางตั้งอยู่
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดช้างล้อม สุโขทัย
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=padc3klvSu8
ปัจจุบันช้างปูนปั้นได้ผุผังไปเป็นส่วนใหญ่ เหลือที่เห็นเป็นรูปหัวช้างอยู่จำนวนไม่กี่เชือก แต่ยังคงแสดงออกถึงความงดงามของประติมากรรมสมัยสุโขทัยอย่างเต็มที่ ช้างปูนปั้นที่วัดช้างล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือ ยืนเต็มตัวแยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่เทียบเท่าหรือใหญ่กว่าช้างจริง
เบื้องเจดีย์ประธานมีบันได ชั้นขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย 20 ซุ้ม โดยส่วนใหญ่ได้ผุผังไปเกือบหมด ยังเหลือที่สมบูรณ์เพียงไม่กี่องค์ เหนือบริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ก้านฉัตรประดับด้วยพระรูปพระสาวกปางลีลาปูนปั้นแบบนูนต่ำจำนวน 17 องค์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดช้างล้อม สุโขทัย
วัดช้างล้อม สุโขทัย
ที่มา http://www.mariajourneys.com/sukhothai/

การติดต่อ
       วัดช้างรอบ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร   สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลาเปิด – ปิด 8.30 – 16.30 น. 
ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท โทร. 055 711921

   
      วัดช้างล้อม ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันเวลา 08.00 - 17.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท 
     ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าภายในเขตอุทยานฯ ต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย  และ มีบริการรถรางนำชมโบราณสถานทั่วบริเวณ ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หากนักท่องเที่ยวต้องการขอวิทยากรนำชม ติดต่อได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130 โทร. 0 5567 9211

การเดินทาง
วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร
        โดยรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัด อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดกำแพงเพชร ระยะทาง 358 กิโลเมตร ทางเข้าตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนนสายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย เลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 360
         โดยรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ กำแพงเพชร บริการทุกวัน


วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย
        โดยรถยนต์จากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 สายสุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ไปจนถึงระหว่างกิโลเมตรที่ 18-19 เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแม่น้ำยม มีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองสุโขทัย 68 กิโลเมตร
         โดยสารรถประจำทาง ที่สถานีขนส่งสุโขทัย สายสุโขทัย - อุตรดิตถ์ หรือสายสุโขทัย - เชียงราย ลงบริเวณปากทางแยกเข้ายังอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

แผนที่วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร


แผนที่วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย


ที่มา
http://www.sac.or.th/databases/archaeology/archaeology
http://inkigayo7.blogspot.com/
http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/kamphaengphe/kamphaengphet-002/item/239-kamphaengphe03-002
http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/sukhothai/sukhothai02/sukhothai02-002/item/255-sukhothai03-015
http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/srinatcl.html
https://www.touronthai.com/article/818
https://pantip.com/topic/33926242
https://thai.tourismthailand.org/
https://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/001976/lang/th/
http://www.finearts.go.th/archae/parameters/km/item.html

บ้านดอนตาเพชร

แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี         แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ตั้งอยู่ ภายในโรงเรียนวัดสาลวนาราม ต.ดอนตาเพชร อ.พน...