วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

บ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา



        การตั้งชุมชนบ้านปราสาทในอดีตเริ่มเมื่อ ประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว โดยสันนิษฐานว่ากลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณที่บริเวณบ้านปราสาทนี้อพยพมาจากบริเวณแอ่งสกลนคร (อีสานเหนือ) ซึ่งแอ่งสกลนครเป็นแอ่งที่ตั้งของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในระยะแรกของภาคอีสาน มีอายุ 5,600 - 3,000 ปี    สาเหตุที่อพยพ เนื่องจากพื้นที่ในแอ่งสกลนครเริ่มมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นมากขึ้น ทำให้ต้องอพยพลงมาทางตอนล่าง คือแอ่งโคราช เพื่อหาที่ทำกินใหม่ 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_image.php?id=923
        จากการศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าชาวบ้านปราสาทในอดีตเลือกตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ เพราะเห็นว่าพื้นดินบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ และอยู่ใกล่แหล่งน้ำ (ลำธารปราสาทในปัจจุบัน) จึงเหมาะที่จะอยู่อาศัยและทำการเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงชีพ แต่จากการสำรวจและศึกษาทางโบราณคดี พบว่าพื้นที่บ้านปราสาทในอดีตต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมในหน้าน้ำหลาก และประสบกับปัญหาน้ำน้อยในหน้าแล้ง ชาวบ้านจึงต้องแก้ปัญกาโดยการร่วมขุดคูน้ำเชื่อมต่อกับลำธารปราสาท คููน้ำโบราณแห่งนี้อยู่ทางชุมชน ปัจจุบันได้กลายสภาพเป็นที่นาของชาวบ้านไปแล้ว
        บ้านปราสาทเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 3,000 ปีเป็นที่รู้จักเพราะ นักค้าของเก่าลักลอบนำโบราณวัตถุในบริเวณหมู่บ้านไปขาย กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการจับกุมพร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาแหล่ง โบราณคดีนี้ในปี 2526 พบว่าแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น มีลำธารปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ มีมนุษย์มาตั้งชุมชนครั้งแรกราว 3,000 ปีมาแล้ว รู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ทำภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันและมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วย 
พิพิธภัณฑ์บ้านปราสาทและแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_image.php?id=923
       ต่อมาในราว 2,200 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยผลิตภาชนะดินเผาแบบพิมายดำขึ้นแทน มีการนำเหล็ก สำริด หินสีต่าง ๆ เช่น หินคาร์นีเลียน หินอเกต มาทำเครื่องใช้เครื่องประดับ จนราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเข้ามา แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ชุมชนนี้จะสิ้นสุดไป
      บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว หลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชม มีทั้งหมด 3 แห่ง 
หลุมขุดค้นที่ 1
        มีโครงกระดูกฝังอยู่ในชั้นดินแต่ละสมัย แต่ละยุคมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป ยุค 3,000 ปี อยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก 5.5 เมตร โครงกระดูกจะหันหัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยุค 2,500 ปี หันหัวไปทางทิศตะวันออก ยุค 2,000 ปีหันหัวไปทางทิศใต้ แต่คติในการฝังจะคล้ายกันคือจะนำเครื่องประดับ เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริดและภาชนะของผู้ตายฝังร่วมไปด้วยกับผู้ตาย ในช่วงสามระยะแรกนี้เป็นภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง แบบลายเชือกทาบ ลักษณะหลักของภาชนะเป็นแบบคอแคบปากบาน แต่บางใบมีทรงสูงเหมือนคนโท บางชิ้นมีลักษณะเป็นทรงกลมสั้น ต่อมาในยุค 1,500 ปี นั้นลักษณะภาชนะจะเปลี่ยนเป็นแบบพิมายดำ คือ มีสีดำ ผิวขัดมัน เนื้อหยาบบาง 
ที่มา http://pr.prd.go.th/nakhonratchasima/ewt_news.php?nid=176&filename=index
หลุมขุดค้นที่ 2
        ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่ 13-16 เรียกกันว่า "กู่ธารปราสาท" และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยเดียวกัน ศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้งครรภ์ และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท
หลุมขุดค้นที่ 3
        พบโครงกระดูกในชั้นดินที่ 5.5 เมตร เป็นผู้หญิงทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่ากระดูกทุกโครงในหลุมนี้ไม่มีศีรษะ และภาชนะนั้นถูกทุบให้แตกก่อนที่จะนำลงไปฝังด้วยกัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะไปแห่ประจาน และได้พบส่วนกะโหลกอยู่รวมกันในอีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างจากจุดเดิมเพียง 500 เมตร ชาวบ้านปราสาทจะร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันที่ 21 เมษายน ของทุกปี
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มา https://www.touronthai.com/article/661
ลักษณะทั่วไป
1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ และมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดของเขตภาคอีสานตอนล่าง มีการจัดแสดงในรูปของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ประกอบด้วยหลุมขุดค้นจำนวน 3 หลุม โครงกระดูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ราว 59 โครง รวมทั้งโบราณ วัตถุอื่น ๆ อีกจำนวนมาก 
2. เป็นแหล่งศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ในอดีต ของดินแดนภาคอีสานตอนล่าง 
3. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำให้เศรษฐกิจตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น
หลักฐานที่พบ
1. โครงกระดูกมนุษย์อยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 1.50 – 5 เมตร แสดงถึงการอยู่อาศัยทับซ้อนกันยาวนาน
2. ภาชนะดินเผา หม้อปากแตร และหม้อแบบพิมายดำ
3. เครื่องประดับและเครื่องมือสำริด • เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ไปตามถนนมิตรภาพ นครราชสีมา-ขอนแก่น แยกเข้าซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 25
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ้านปราสาท
http://woodychannel.com/bann-prasart-ancient-wisdom.html
สถานที่ตั้ง
        แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงกิโลเมตรที่ 44 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถประจำทางจากกรุงเทพฯหรือนครราชสีมา ให้นั่งรถสายที่จะไป ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย หรือ กาฬสินธุ์ ลงรถที่ กม.44 แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างจากปากทางเข้าหมู่บ้าน 
 ทุกวัน  เวลา 08.30 - 16.30
แผนที่เดินทาง



ที่มา
       สุชาดา รัตนภูมิพงษ์. (2546). วัฒนธรรมชุมชนในฐานะที่เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว ศึกษากรณีแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=923&CID=22027
http://www.nakhonkorat.com/main/th/2009-04-02-05-48-49/2009-04-10-09-39-20/333-2009-04-21-09-39-48.html
http://pr.prd.go.th/nakhonratchasima/ewt_news.php?nid=176&filename=index
https://thai.tourismthailand.org/
http://woodychannel.com/bann-prasart-ancient-wisdom.html
http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_image.php?id=923




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บ้านดอนตาเพชร

แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี         แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ตั้งอยู่ ภายในโรงเรียนวัดสาลวนาราม ต.ดอนตาเพชร อ.พน...