วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

วัดช้างรอบ vs. วัดช้างล้อม


วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร

        เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าแก่อีกเมืองอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปีมาแล้ว มีศักดิเป็นเมืองลูกหลวงและเมืองพญามหานครของอาณาจักรสุโขทัยตามลำดับ ก่อนจะมีชื่อว่ากำแพงเพชร เมืองนี้มีชื่อเดิม 2 ชื่อ คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม ทั้ง 2 ชื่อนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกที่ และศิลาจารึกเขาสุมนกุฎ เมืองสองเมืองนี้ใกล้กันทางฝั่งตะวันตก  ฝั่งขวาริมแม่น้ำปิง  คนละฝั่งกับเมืองปัจจุบัน  
วัดพระบรมธาตุนครชุม
ที่มา http://www.tatcontactcenter.com/en/Blog-detail/291

        สมัยพระยาเลอไทย แห่งกรุงสุโขทัยได้มาบูรณะเมืองชากังราวเมื่อปี 1800 และยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง เช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย ได้โปรดเกล้าให้พระราชโอรสหนึ่งมาครองเมืองนี้ ต่อมาแม่น้ำปิงเปลี่ยนทางเดินเป็นผลให้อยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จขุนพะงั่ว รัชกาลที่ 3 ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้ผลจากสงคราม ทำให้เขตการปกครองของกรุงสุโขทัยได้ถูกแบ่งออกเป็น สองส่วน คือ ดินแดนทางฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง  ดินแดนฝั่งแม่น้ำยม และแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมชากังราว และเมืองนครชุมมาเป็นเมืองเดียวกันแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กำแพงเพชร ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยม และแม่น้ำน่านให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พญาไสลือไทยหรือมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงพิจารณาเห็นว่าการแบ่งขตการปกครองออกเป็น ส่วน ต่างไม่ขึ้นแก่กัน ดังกล่าวเกิดผลเสียมีเรื่องอยู่เสมอ จึงได้รวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกันเมื่อปี พ.ศ.1981 โดยมุมเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิม แล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกแห่งเดียว
วัดช้างรอบ
ที่มาhttp://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/kamphaengphe/
kamphaengphet-002/item/239-kamphaengphe03-002
ประวัติวัดช้างรอบ 
        วัดช้างรอบ ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเนินเขาลูกรังในเขตวัดป่าหรือเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร กลางวัดมีเจดีย์ประธานขนาดใหญ่รูปแบบเจดีย์ช้างล้อมที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ฐานเจดีย์อยู่ในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 31 เมตร สูง 7 เมตร ที่ฐานเป็นรูปช้างปูนปั้นครึ่งตัวหันศีรษะออกจากฐานรอบเจดีย์ จำนวน 68 เชือก ช้างแต่ละตัวทรงเครื่องที่มีเครื่องประดับที่แผงคอ กำไล โคนขาและข้อขา ระหว่างช้างแต่ละตัวมีลายปูนปั้นเป็นรูปต้นไม้และสัตว์ป่าซึ่งหมายถึงป่าหิมพานต์ทั้งสี่ด้านมีบันไดทางขึ้นไปด้านบนฐานเจดีย์ เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปยักษ์และสิงห์ระหว่างทางขึ้นด้านบนฐานเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ทรงระฆังแต่ส่วนบนพังทลายเกือบหมดแล้วทางด้านทิศตะวันออกชองเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ขนาด 7 ห้อง 
        ด้านหน้าวิหารเป็นบ่อน้ำที่เกิดจากจากขุดนำศิลาแลงมาใช้ จากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบประติมากรรมลวดลายต่าง ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปหน้าเทวดา และหน้ามนุษย์ เป็นศิลปะรูปแบบอยุธยาตอนต้น-ตอนกลางผสมกับศิลปะสุโขทัยโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมและจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชรจากรูปแบบศิลปะและหลักฐานที่พบ สันนิษฐานว่าวัดช้างมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ในสมัยอยุธยา

วัดช้างรอบ
ที่มา https://pantip.com/topic/33926242

สถาปัตยกรรมวัดช้างรอบ
        จากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่างๆเป็นดินเผารูปนางรำ  รูปยักษ์  รูปหงส์  รูปหน้าเทวดา  นางฟ้า  กินนร  กินรี และหน้ามนุษย์  ซึ่งเป็นโบราณวัตถุศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น หรือสุโขทัยตอนปลาย นอกจากนี้แล้ว วัดช้างรอบยังมีกำแพงศิลา ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือในช่วงอยุธยาตอนต้น ที่ปัจจุบันยังคงหลงเหลือส่วนฐานล่างประดับช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก ตัวช้างทำลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขา และข้อขา ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงรูปพันธุ์พฤกษา เจดีย์ด้านบนเหลือเฉพาะฐานแปดเหลี่ยม และหน้ากระดานกลม ซึ่งพบหลักฐานว่ามีการประดับลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทะประวัติ ด้านหน้าเจดีย์ประธานที่ฐานวิหารใหญ่ และถัดไปเป็นสระน้ำที่ขุดลงไปในชั้นศิลาแลง 

ช้าง - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งมีขาสองข้างกับหัวโผล่ออกมาข้างนอกตัวช้างมีเครื่องประดับประดาบริเวณขาของช้างทั้งสองมีการประดับลวดลายและบริเวณคอมีการประดับลวดลายเช่นกัน
สิงห์ - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งได้รับอารยธรรมมาจากลังกา สิงห์จะอยู่บริเวณประตูทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน 2 ตัวมีลวดลายประดับแต่สภาพไม่สมบูรณ์เท่าไร
หงส์ - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งมีลวดลายสวยงามอยู่บริเวณผนังของฐานใกล้ทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน นอกจากนี้ยังมีลวดลายอื่นๆอีกเช่นกัน

กินรี - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งมีสภาพไม่สมบูรณ์อยู่บริเวณทางขึ้นไปบนเจดีย์แต่ปัจจุบันก็ยังพบเห็นได้อยู่
เจดีย์  - วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งปัจจุบันมีสภาพไม่สมบูรณ์ ภายในดูโล่งสามารถเดินชมรอบเจดีย์ได้ ประตู  วัดช้างรอบนั้นมีสถาปัตยกรรมแบบปิดซึ่งมีสภาพสมบูรณ์ สองด้านทางขึ้นมีความสูงและชันมากบนประตูมีระฆังประดับ
ที่มา http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/kamphaengphe
/kamphaengphet-002/item/239-kamphaengphe03-002ผ
การขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร                                                                                                       
1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในวันที่ 8 มีนาคม  พ.ศ.2478                                
2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ  ในวันที่ 3 มกราคม  พ.ศ.2480
3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา  วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2511
      วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 ขึ้นทะเบียนของ UNESCO ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574

วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย
       ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองเกือบกึ่งกลางตัวเมืองศรีสัชนาลัย บริเวณที่ราบด้านเชิงเขาพนมเพลิงด้านทิศใต้ ในแนวเดียวกันกับวัดเจดีย์เจ็ดแถว
        โบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ประธานทรงลังกา มีกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอย ตั้งอยู่บานฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างปูนปั้นเต็มตัว ประดับโดยรอบฐานทั้งด้าน รวม 39 เชือก “ช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 39 เชือก หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ  ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องหมายการตรัสรู้ ไปสู่การหลุดพ้นแห่งจิตและปัญญา ไปสู่ความหลุดพ้นไม่เกิดอีก (อรหันต์) ซึ่งเป็นอุดมคติหรือโมกษธรรมที่เป็นการหลุดพ้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา นั่นคือนิพพาน” 
เจดีย์ประทานทรงลังกา วัดช้างล้อม สุโขทัย
ที่มาhttp://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/sukhothai
/sukhothai02/sukhothai02-002/item/255-sukhothai03-015
         ช้างที่ประดับตรงมุมจะมีขนาดใหญ่ และมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ต้นขา และข้อเท้า ระหว่างรูปช้างจะมีเสาประทีปสลับอยู่ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางอยู่ ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย 20 ซุ้ม ผนังซุ้มมีรูปประติมากรรมรูปต้นโพธิ์อยู่เบื้องหลังพระพุทธรูป บริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตร ซึ่งประดับด้วยรูปพระสาวกปูนปั้นลีลานูนต่ำจำนวน 17 องค์ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ. 1829 พ่อขุนรามคำแห่งให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และเฉลิมฉลอง หลังจากนั้นจึงฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย และก่อพระเจดีย์ทับลงไป โบราณสถานภายในวัดที่ยังมีหลักฐาน คือ วิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน นอกจากนั้นเป็นวิหารขนาดเล็กๆ หลัง และเจดีย์รายอีก องค์
นักวิชาการสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันกับที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ที่กล่าวไว้ว่าในปี พ.ศ.1829 พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาทำบูชา และฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัยก่อนก่อพระเจดีย์ทับลงไป

         พบศิลาจารึกที่วัดช้างล้อม เขียนเล่าเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พ.ศ.1905 1933 ว่า พนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางผู้จงรักภักดีต่อพระมหาธรรมราชาลิไท มีใจศรัทธาออกบวชตามพระมหาธรรมราชาลิไท และได้อุทิศที่ดินของตนสร้างวิหาร ในปี พ.ศ.1933 สร้างพระพุทธรูป หอพระไตรปิฎก ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุทิศบุญกุศล ถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว และสร้างพระพุทธรูปหินอุทิศบุญกุศลถวายแด่ มหาเทวี พระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาลิไทผู้เคยปกครองเมืองสุโขทัย  เป็นวัดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ภายในวัดได้พบศิลาจารึกวัดช้างล้อม ที่บันทึกถึงพนมไสดำ ขุนนางสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ได้ออกบวช อุทิศที่ดิน เพื่อสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์และพระมเหสี ซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว โดยอุทิศถวายเมื่อปี พ.ศ. 1933
สถาปัตยกรรมวัดช้างล้อม
โบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงลังกาตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีซุ้มประตูทั้ง ทิศ ประตูด้านหน้าและประตูด้านหลังเป็นทางเข้าออกก่อเป็นกำแพงศิลาแลงหนามีการเล่นระดับที่ซุ้มประตูอย่างสวยงาม สำหรับประตูด้านข้างก่อเรียงอิฐศิลาแลงปิดไว้เป็นประตูตัน
เจดีย์ประธานทรงลังกาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันหลายชั้น มีทางเดินเป็นบันไดขึ้นไปยังชั้นบน โดยรอบเจดีย์มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง ด้าน ด้านละ เชือก (ยกเว้นด้านหนึ่งซึ่งเป็นบันไดทางขึ้นมีเพียง เชือก) และที่มุมมีช้างขนาดใหญ่ประดับอีก เชือก รวมเป็น 39 เชือก ช้างเชือกใหญ่ที่อยู่มุมเจดีย์เป็นช้างทรงเครื่องมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ และข้อเท้าสวยงามกว่าช้างที่ฐานสี่เหลี่ยม ระหว่างช้างปูนปั้นที่ฐานนั้นจะมีเสาประทีปศิลาแลงสลับเป็นระยะ ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางตั้งอยู่
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดช้างล้อม สุโขทัย
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=padc3klvSu8
ปัจจุบันช้างปูนปั้นได้ผุผังไปเป็นส่วนใหญ่ เหลือที่เห็นเป็นรูปหัวช้างอยู่จำนวนไม่กี่เชือก แต่ยังคงแสดงออกถึงความงดงามของประติมากรรมสมัยสุโขทัยอย่างเต็มที่ ช้างปูนปั้นที่วัดช้างล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือ ยืนเต็มตัวแยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่เทียบเท่าหรือใหญ่กว่าช้างจริง
เบื้องเจดีย์ประธานมีบันได ชั้นขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย 20 ซุ้ม โดยส่วนใหญ่ได้ผุผังไปเกือบหมด ยังเหลือที่สมบูรณ์เพียงไม่กี่องค์ เหนือบริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ก้านฉัตรประดับด้วยพระรูปพระสาวกปางลีลาปูนปั้นแบบนูนต่ำจำนวน 17 องค์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดช้างล้อม สุโขทัย
วัดช้างล้อม สุโขทัย
ที่มา http://www.mariajourneys.com/sukhothai/

การติดต่อ
       วัดช้างรอบ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร   สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลาเปิด – ปิด 8.30 – 16.30 น. 
ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท โทร. 055 711921

   
      วัดช้างล้อม ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันเวลา 08.00 - 17.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท 
     ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าภายในเขตอุทยานฯ ต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย  และ มีบริการรถรางนำชมโบราณสถานทั่วบริเวณ ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หากนักท่องเที่ยวต้องการขอวิทยากรนำชม ติดต่อได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130 โทร. 0 5567 9211

การเดินทาง
วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร
        โดยรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัด อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดกำแพงเพชร ระยะทาง 358 กิโลเมตร ทางเข้าตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนนสายกำแพงเพชร-พรานกระต่าย เลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 360
         โดยรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ กำแพงเพชร บริการทุกวัน


วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย
        โดยรถยนต์จากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 สายสุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ไปจนถึงระหว่างกิโลเมตรที่ 18-19 เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแม่น้ำยม มีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองสุโขทัย 68 กิโลเมตร
         โดยสารรถประจำทาง ที่สถานีขนส่งสุโขทัย สายสุโขทัย - อุตรดิตถ์ หรือสายสุโขทัย - เชียงราย ลงบริเวณปากทางแยกเข้ายังอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

แผนที่วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร


แผนที่วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย


ที่มา
http://www.sac.or.th/databases/archaeology/archaeology
http://inkigayo7.blogspot.com/
http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/kamphaengphe/kamphaengphet-002/item/239-kamphaengphe03-002
http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/sukhothai/sukhothai02/sukhothai02-002/item/255-sukhothai03-015
http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/srinatcl.html
https://www.touronthai.com/article/818
https://pantip.com/topic/33926242
https://thai.tourismthailand.org/
https://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/001976/lang/th/
http://www.finearts.go.th/archae/parameters/km/item.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บ้านดอนตาเพชร

แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี         แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ตั้งอยู่ ภายในโรงเรียนวัดสาลวนาราม ต.ดอนตาเพชร อ.พน...